คุณกำลังมองหาอะไร?

ชุ

ชุดตรวจสอบความกระด้างในน้ำ อ 37

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

10.12.2563
1242
0
แชร์
10
ธันวาคม
2563

 

 ชุดตรวจสอบความกระด้างในน้ำ อ 37

 

a37_1

 

การตรวจสอบความกระด้างในน้ำ ด้วยชุด อ 37

          น้ำบริโภคที่สะอาดมีความสำคัญต่อการมีชีวิต แต่การบริโภคน้ำที่มีความกระด้างมากเกินมาตรฐานเป็นประจำจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพเพราะการดื่มน้ำที่มีความกระด้างมากเกินไปเป็นประจำจะเกิดสารสะสมสารปนเปื้อนในร่างกายส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคนิ่ว

          ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย ได้คิดค้นรูปแบบของชุดตรวจสอบความกระด้างในน้ำบริโภคทางภาคสนาม (อ 37) ซึ่งชุดดังกล่าวสามารถนำไปตรวจสอบปริมาณความกระด้างในน้ำ โดยชุมชนท้องถิ่นและผู้ผลิตน้ำดื่ม การตรวจสอบใช้หลักการไตเตรรชั่น การตรวจสอบความกระด้างด้วยวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ง่ายสะดวก มีความถูกต้องน่าเชื่อถือโดยการอ่านค่าของความกระด้างในน้ำจากการเปลี่ยนแปลงสีของสีบ่งชี้ (Indicator) ในสภาพที่เป็นด่าง จากสีม่วงแดงเป็นสีน้ำเงิน เมื่อถึงจุดยุติ

          จากการศึกษาวิจัยพบว่าการตรวจสอบความกระด้างในน้ำบริโภคด้วยชุด อ 37 ตามขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบที่ถูกต้องแล้วพบว่า ให้ความถูกต้องน่าเชื่อถือ ที่สอดคล้องกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งทั้งสองวิธีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient) 0.997 ที่ระดับความน่าเชื่อมั้น 95%

 

 

วัสดุอุปกรณ์ชุดตรวจสอบความกระด้างในน้ำบริโภค  

 

 a37_2 

 

1. กล่องพลาสติกใสสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีฝาปิดล็อคติดฉลากด้านหน้า แสดงชื่อชุดตรวจสอบความกระด้างในน้ำ สำหรับบรรจุอุปกรณ์เพื่อตรวจสอบความกระด้างในน้ำ (อ 37)

2. ขวดหยดพลาสติกขนาดความจุ 17 มิลลิลิตร บรรจุสารเคมี 1 จำนวน 1 ขวด

3. ขวดหยดพลาสติกขนาดความจุ 17 มิลลิลิตร บรรจุสารเคมี 2 จำนวน 1 ขวด

4. ขวดพลาสติกขนาดความจุ 60 มิลลิลิตร บรรจุสารเคมี 3 จำนวน 2 ขวด

5. กระบอกฉีดยา ขนาด 10 มิลลิลิตร จำนวน 1 อัน

6. กระบอกฉีดยา ขนาด 100 มิลลิลิตร จำนวน 1 อัน

7. บีกเกอร์พลาสติกขนาด 100 มิลลิลิตร จำนวน 1 ใบ

8. ขวดแก้วรูปชมพู่ ขนาด 125 มิลลิลิตร จำนวน 1 ใบ

 

หมายเหตุ : สารเคมี 2 และสารเคมี 3 มีปริมาณพอเพียงสำหรับตรวจสอบความกระด้างในน้ำตัวอย่าง จำนวน 60 ตัวอย่าง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน